ด้วยในปี พ.ศ.2529 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีนโยบายขยายการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มายังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของการพัฒนาประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงมีการจัดตั้งคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยเริ่มก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ.2533 และต่อมาในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535 – 2539) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคณะใหม่เพิ่มอีก 3 คณะวิชา ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์
จากนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีคำสั่งที่ 30/2537 ลงวันที่ 11 มกราคม 2537 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อจัดทำหลักสูตรตลอดจนวางแผนเรื่องอัตรากำลังให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งต่อมาคณะกรรมการฯได้ประชุมและมีมติให้เปลี่ยนชื่อคณะจากเดิม “คณะเทคนิคการแพทย์” เป็น “คณะสหเวชศาสตร์” เนื่องจากพิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็นต้องรองรับการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆที่จะเปิดการเรียนการสอนต่อไปในอนาคตนอกเหนือจากสาขาเทคนิคการแพทย์ เช่น สาขากายภาพบำบัด และสาขาวิชารังสีเทคนิค เป็นต้น
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2539 มีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยแบ่งส่วนราชการเป็น 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ ภาควิชากายภาพบำบัด ภาควิชารังสีเทคนิค ภาควิชาอาชีวบำบัด (ขณะนี้ยังไม่เปิดดำเนินการ) และสำนักงานเลขานุการและคณะสหเวชศาสตร์ ได้มีการขยายขอบเขตงานเป็นการภายในเพิ่มอีก 3 หน่วยงาน ดังนี้
คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 17/2556 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 มีมติอนุมัติการแบ่งส่วนงานภายในสำนักงานเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์ เป็น 4 งาน คือ งานบริหารและธุรการ งานคลังและพัสดุ งานวิชาการและวิจัย และงานนโยบายและมาตรฐานการศึกษา เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับภาระงานที่เพิ่มขึ้นและเกิดความชัดเจนในการทำงานของหน่วยงาน
ต่อมาคณะสหเวชศาสตร์ได้มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่เป็นโอกาสและอุปสรรคต่อการบริหารงานของคณะในสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนคณะมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนสู่การเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ โดดเด่นในความเป็นธรรมศาสตร์เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ และเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน ดังนั้นคณะสหเวชศาสตร์จึงได้มีจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มเป็นการภายในอีก จำนวน 4 หน่วยงาน โดยมีฐานะเทียบเท่าภาควิชา เพื่อรองรับการดำเนินงานสำคัญๆ ของคณะฯ ให้เป็นไปโดยราบรื่น มีความคล่องตัว และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้
ทั้งนี้ ศูนย์บริการสุขภาพคณะสหเวชศาสตร์ ทางกรมบัญชีกลางได้รับทราบเป็นสถานพยาบาลของทางราชการเรียบร้อยแล้ว และค่ารักษาพยาบาลที่ศูนย์เรียกเก็บ ผู้มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลสามารถนำไปเบิกจากทางราชการได้ โดยศูนย์ได้เปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ปัจจุบันห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล ISO 15189 และมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ISO 15190 นอกจากนี้ ยังจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการวินิจฉัยระดับโมเลกุล (Molecular Diagnostic Laboratory Center) เพื่อดำเนินการตรวจวิเคราะห์สารทางพันธุกรรม การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุหรือโอกาสในการเกิดโรค รวมถึงการตรวจเพื่อติดตามการรักษาซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์โรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2563 ได้เปิดให้บริการตรวจหาเชื้อ Covid-19 ตั้งแต่ในระยะแรกของการระบาดเชื้อ Covid-19 19 (ได้รับการรับรองเป็นห้องปฏิบัติการเครือข่ายที่ผ่านการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ เครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2) ในปี 2564 ได้เปิดให้บริการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Covid-19
99 หมู่ 18 อาคารปิยชาติ ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร 02-9869213-9