หน่วยวิจัยด้านกลไกทางชีวโมเลกุลและวิทยาภูมิคุ้มกันระดับโมเลกุลโรคติดเชื้อ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หน่วยวิจัยด้านกลไกทางชีวโมเลกุลและวิทยาภูมิคุ้มกันระดับโมเลกุลโรคติดเชื้อแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasat University Research Unit in Molecular Pathogenesis and Immunology of

Infectious Diseases

หัวหน้าหน่วยวิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร.จีระพงษ์  ทะนงศักดิ์ศรีกุล  สังกัด บัณฑิตศึกษา  

สมาชิกหน่วยวิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล  อังคเศกวินัย  สังกัด ภาควิชาเทคนิคการแพทย์

   รองศาสตราจารย์ ดร.พจนีย์  ศรีมาโนชญ์   สังกัด บัณฑิตศึกษา

   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรฤดี  ขันติสิทธิพร   สังกัด ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ 

พันธกิจของหน่วยวิจัย

– สร้างองค์ความรู้และค้นคว้าหาสารชีวโมเลกุลของโฮสต์และจุลชีพก่อโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทยและของโลกเพื่อนำไปสร้างต้นแบบวัคซีน ยา สารปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน และการตรวจวินิจฉัย เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันและเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตการณ์โรคระบาดใหม่ในอนาคต

วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย

– เป็นหน่วยงานที่เผยแพร่งานวิจัยระดับแนวหน้า (Frontier research) เกี่ยวกับกลไกลการก่อโรคและวิทยาภูมิคุ้มกันระดับโมเลกุลของโรคติดเชื้อไวรัส (ได้แก่ Enteric viruses และ Coronaviruses) แบคทีเรีย (เช่น Streptococcus suis และ Enteric bacteria) รา (เช่น Cryptococci) และหนอนพยาธิ (เช่น Trichinella spiralis) ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขในประเทศไทยและทั่วโลก

– เป็นแหล่งผลิตแอนติเจนและแอนติบอดี เพื่องานวิจัยโรคติดเชื้อ

– เป็นแหล่งสร้างต้นแบบวัคซีน ยา สารปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน และชุดตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อ

– เป็นแหล่งดูงาน ฝึกงาน และความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และบุคลากรทางด้านสาธารณสุข

– เป็นแหล่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านโรคติดเชื้อ

ผลงานตีพิมพ์

1. Macrophage-Derived Osteopontin Influences the Amplification of Cryptococcus

Neoformans-Promoting Type 2 Immune Response

2. Transcriptome of human neuroblastoma SH‑SY5Y cells in response to 2B protein of enterovirus‑A71

3. Host neuronal PRSS3 interacts with enterovirus A71 3A protein and its role in viral replication

4. Evaluation of emerging inflammatory markers for predicting oxygen support requirement in COVID-19 patients

Scroll to Top